เป็นแร็พเปอร์ยุคนี้ จะมีรายได้มาจากไหน ?

ในยุคที่วงการเพลงเปลี่ยนแปลงไปจากเมื่อก่อน ศิลปินต้องพึ่งพารายได้จากการแสดงสดมากขึ้น รวมทั้งส่วนแบ่งจากการฟังเพลงแบบออนไลน์สตรีมมิ่ง เพราะการขายแผ่น ออกอัลบั้มไม่ใช่หนทางที่จะทำให้สร้างรายได้อีกต่อไป แต่ก็มักจะมีคำถามสวนทางมาเสมอ เมื่อพูดถึงเรื่องรายได้ กับการสร้างผลงานเพลง

“ถ้าคิดจะทำเพลงอย่าหวังรายได้ ให้ทำด้วยใจรัก”

ประโยคประมาณนี้มักถูกกล่าวออกมา แต่ก็มีสิ่งที่พออธิบายได้ หากเราเป็นศิลปินใต้ดินเริ่มต้นทำเพลงโดยไม่หวังสิ่งใด เมื่อวันนึงที่เริ่มมีกลุ่มคนฟังมากขึ้น ก็จำเป็นที่จะต้องยกมาตรฐานให้สูงขึ้น นั่นตามมาด้วยค่าใช้จ่ายไม่ว่าจะห้องอัด อุปกรณ์ หรือแม้แต่เวลา ซึ่งหากมันสามารถมีรายได้มาเกื้อหนุนกันไป ผลงานดี ๆ ย่อมออกมาอย่างต่อเนื่อง จึงเกิดคำถามว่า

“ศิลปินใต้ดินถ้าหากรักที่จะทำ และหวังจะมีรายได้มาสร้างชีวิตตนเองและครอบครัว จะมีรายได้มาจากสิ่งใด”

1.รายได้จากการจ้างงานแสดงสด 

  • เมื่อผู้จัดงานต้องการศิลปินมาเล่นในงานเพื่อดึงดูดผู้ร่วมงาน ก็ต้องมีการจ้างศิลปิน เช่น Rap is Now ได้มีการจัดศิลปินไปโชว์ใน TWIO3 Live Audition นั่นก็เพื่อสร้างความสนุกให้กับผู้ชมและผลักดันศิลปินฮิพฮอพใต้ดินให้มีงานแสดงต่อเนื่องนอกเหนือจากการจัดแข่งขันแบทเทิลเพียงอย่างเดียว ที่ผ่านมาเราก็มีศิลปินที่เติบโตมาจากเวทีแบทเทิลทั้ง Repaze, Liberate P, BlacksheepRR, Maiyarap และ UMA ที่ได้ก้าวขึ้นมาในฐานะศิลปินเต็มตัว จนถึงวงฮิพฮอพจากฝั่งอีสานอย่าง Kingnocrown Family ก็แสดงให้เห็นความมันส์ของการแสดงสดไปแล้วที่โคราช ซึ่งเวทีต่อไปในรอบนี้ก็เตรียมลุ้นกันว่า ศิลปินคนใด จะได้ไปแสดงสดที่สงขลา, เชียงใหม่ และกรุงเทพฯ

OLYMPUS DIGITAL CAMERA

2.รายได้จากสินค้าที่ระลึก (Merchandise) 

  • สำหรับศิลปินบางกลุ่มที่พอจะมีฐานแฟนคลับแล้ว ก็มักจะมีการทำสินค้าที่ระลึกออกมาจำหน่าย ซึ่งก็พอจะเป็นรายได้อีกช่องทางที่สามารถช่วยสนับสนุนการสร้างผลงานต่อ ๆ ไปได้ ตัวอย่างเช่น River Rhyme, TM303 ที่มีการจัดหน่ายเสื้อวง และสินค้าอื่น ๆ ที่แฟนคลับจะสามารถสนับสนุนได้

Screen Shot 2016-09-01 at 6.40.09 PM

Screen Shot 2016-09-01 at 6.44.57 PM

 

12672153_1001697933255780_5118417486005853754_o

 

Rap is Now ก็มีสินค้าที่ระลึกมากมายให้เลือกสะสม

3.รายได้จากการจ้างงานประเภทอื่น

  • การจ้างงานประเภทอื่นอาทิ สินค้า หรือบริการต่าง ๆ ไล่ตั้งแต่ แบรนด์เสื้อผ้า, เกมส์ออนไลน์, เครื่องดื่ม ฯลฯ ที่ต้องการแร็พเปอร์หรือศิลปินไปเป็นพรีเซนเตอร์หรือแต่งเพลงให้ตลอดจนโปรดิวเซอร์ผู้ออกแบบดนตรีสำหรับเพลงประกอบโฆษณาหรือภาพยนตร์ ก็เป็นอีกช่องทางสร้างรายได้หากดนตรีฮิพฮอพได้รับความนิยมมากขึ้น

Nil Lhohitz กับผลงานเพลงที่ได้ทำร่วมกับ Mountain Dew

12378000_992747167484190_232548082398395872_o

4 แร็พเปอร์จาก TWIO2 รอบสุดท้าย ได้ร่วมงานกับ Levi’s

4.รายได้จากการเผยแพร่เพลงผ่าน Youtube

  • น่าจะเป็นช่องทางที่ง่ายที่สุดในกระบวนการ แต่ต้องใช้ความตั้งใจสูงในการสร้างมาตรฐาน โดย Youtube มีระบบจ่ายรายได้ให้กับผู้ผลิตวิดีโอ ซึ่งจะมีรายรับจากโฆษณาที่แสดงผลบนคลิปต่าง ๆ แต่ทั้งนี้ข้อจำกัดของการจะรับรายได้นั้น เพลงของเราต้องไม่ใช่มิกซ์เทป (บีทจากเพลงต้นฉบับ) โดยจะต้องซื้อบีทที่ถูกลิขสิทธิ์หรือให้โปรดิวเซอร์เคาะขึ้นมาใหม่สำหรับเพลงนั้น ในกรณีที่ทุนทรัพย์ไม่พอจะลงทุน จำเป็นต้องหาบีทนำมาใช้ ก็ต้องแน่ใจว่าเป็น “Free Beat” ที่สามารถนำไปสร้างรายได้ได้จริง ๆ

Screen Shot 2016-09-01 at 7.16.29 PM

 

กลุ่ม 93Flow ทำเพลงมาหลายปี โดยมี Nino เป็นโปรดิวเซอร์เคาะบีทให้กับเพลงส่วนใหญ่

Screen Shot 2016-09-01 at 7.13.35 PM

 

Way Up High Camp มีหัวเรือใหญ่คือ เจ้าพระยา ทันยุค ผลักดันการทำเพลงด้วยบีทลิขสิทธิ์

5.รายได้จากการขายแผ่น

  • เป็นความคลาสสิคที่ผู้เขียนยังชื่นชอบที่จะสนับสนุนศิลปินด้วยวิธีนี้ ยิ่งเป็นศิลปินใต้ดินนั้น รายได้จากการซื้อแผ่นจะเข้าสู่ศิลปินโดยตรง ในยุคนี้ไม่ค่อยได้รับความนิยมเท่าใดนัก แต่ก็ยังเป็นสิ่งที่มีคุณค่าทางจิตใจและจับต้องได้เสมอเมื่อหยิบขึ้นมาฟัง ศิลปินฮิพฮอพที่ออกแผ่นในช่วงปีที่ผ่านมา อาทิ Sweeny, Dandee, Liberate P รวมทั้ง Mindset อีกด้วย

IMG_111IMG_5620

Sweeny และ Liberate P ปล่อยอัลบั้ม EP มาให้แฟนเพลงได้สะสมผลงาน

6.รายได้จากการรับอัดเพลง และทำเพลง

  • ข้อนี้จะมุ่งไปที่กลุ่มโปรดิวเซอร์มากกว่า ที่สามารถเปิดรับอัดเพลง โปรดิวซ์และมิกซ์เพลง โดยจะมีทั้งรายได้ที่เข้ามาจากคนในวงการด้วยกันมาใช้บริการ และมาจากลูกค้านอกวงการที่มาใช้บริการในการทำบีทจนถึงสร้างสรรค์เพลงประกอบผลงานต่าง ๆ

13173809_1025051600920413_7791108551058987615_n

 

Nazesus พิธีกรของเรา กับการใช้บริการห้องอัด Groovinman ในโปรเจ็คงานของ Rap is Now

นั่นเป็นช่องทางรายได้หลัก ๆ ที่จะเข้ามาสู่ศิลปินใต้ดิน ไม่ว่าจะฮิพฮอพหรือแนวเพลงอื่น ๆ เมื่อมองดูแล้วก็จะไม่ต่างกับศิลปินที่สังกัดค่ายเพลงมากนัก หากแต่จะต้องลุยเองในขั้นตอนของการโปรโมทผลงาน ที่ทุกคนมีสื่ออยู่ในมือนั่นก็คือสื่อออนไลน์ หากเราใช้มันอย่างมีประสิทธิภาพก็จะเพิ่มโอกาสในการสร้างฐานผู้ฟัง ที่สำคัญต้องยกระดับคุณภาพของผลงานไปด้วย เพราะเมื่อดูจากทั้ง 6 ข้อข้างต้นนั้น ผู้ที่อยู่เบื้องหลังในการผลักดันศิลปินก็คือคุณ “ผู้ชื่นชอบการฟังเพลง” ทุกคนนั่นเอง

12977130_1007171189375121_4890171199608139053_o

 

เรามีแร็พเปอร์ที่เติบโตมาจากศูนย์สู่สูงสุด อย่าง Repaze, Nil Lhohitz, Maiyarap และ Darkface เมื่อฤดูกาลที่แล้ว สู่คอนเซ็ปต์ของการแข่งขัน Zero to Hero ในปีนี้ เพราะเราเชื่อว่าจะมีแร็พเปอร์อีกมากมายรวมทั้งศิลปินใต้ดินที่พร้อมจะสร้างชีวิตของตนเองด้วยเพลง ด้วยการแร็พ และความสามารถของพวกเขา เมื่อแฟนเพลงพร้อมสนับสนุน ศิลปินก็จะพร้อมสร้างสรรค์ผลงาน เพราะว่าพวกเราทำสิ่งนี้ได้ด้วยมือของเราเอง

“รันวงการ”


TWIO3 Live Audition เวทีต่อไปจัดที่ เซ็นทรัล หาดใหญ่ สงขลา วันที่ 10 กันยายนนี้ ซื้อบัตรได้แล้วที่ > EVENTPOP

สนใจศึกษาการสร้างคอมมูนิตี้และธุรกิจของ Rap is Now ติดตามได้ที่ > TECHSAUCE

 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

*
*
Website